เครื่องออกกำลังกาย อุปกรณ์ออกกําลังกาย อุปกรณ์ฟิตเนส
view-th view-en
ตะกร้า 0 ตะกร้าสินค้า

ยิวยิตสู ศิลปะป้องกันตัว ทางเลือกสุขภาพที่ดี

ยิวยิตสู ศิลปะป้องกันตัว ทางเลือกสุขภาพที่ดี

ยิวยิตสู (Jujitsu) เป็นศิลปะป้องกันตัวแบบต่อสู้กันด้วยมือเปล่า มีต้นตำรับมาจากประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นการฝึกในระยะประชิดตัวที่เพื่อทำทุกวิถีทางเพื่อล้มคู่ต่อสู้ให้ได้ แบบที่นักรบญี่ปุ่นใช้สำหรับรบในสงครามในอดีต ภายหลังมีศิลปะการต่อสู้แขนงใหม่พัฒนาออกเรื่อย ๆ ยิวยิตสูจึงค่อย ๆ เสื่อมความนิยม แต่ภายหลังมีการปรับปรุงใหม่ก็ยังมีคนฝึกฝนสืบทอดต่อกันมา

ยิวยิตสู คืออะไร

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์พบเรื่องราวของศิลปะ ศิลปะป้องกันตัว ที่เรียกว่า “ยิวยิตสู” ซึ่งมีมายาวนานในประเทศญี่ปุ่นช่วงปี ค.ศ.1333-1573 ซึ่งโดยปกตินักรบซามูไรใช้ดาบร่วมกับอาวุธชนิดต่าง ๆ ในการต่อสู้ แต่ยิวยิตสูเป็นศาสตร์การป้องกันตัวที่ไม่พึ่งพาอาวุธ เรียกว่าเป็นเทคนิคการต่อสู้ที่ผนวกวิธีการเตะ ต่อย ทุ่ม กดล็อกคู่ต่อสู้ หักแขน หักขา และรัดคอเข้าด้วยกัน แต่เพราะมีท่าอันตรายต่าง ๆ จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ต่อมามีการพัฒนาบราซิเลียน ยิวยิตสูที่มีสไตล์คล้ายมวยปล้ำ เน้นการต่อสู้ในท่านอน หรือเทคนิคการทุ่มและปล้ำจับล็อกข้อต่าง ๆ ให้คู่ต่อสู้เคลื่อนไหวได้ช้าลงจนกลายเป็นที่ฝึกมากกว่า

ในปัจจุบันยิวยิตสูลดความรุนแรงลงเหมือนกับศิลปะการป้องกันตัวชนิดหนึ่ง และถูกบรรจุเข้าสู่มหกรรมกีฬาเป็นครั้งแรกในรายการเอเชียน มาร์เชียล อาร์ต เกมส์ 2009 (พ.ศ. 2552) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นับจากนั้นมีการจัดการแข่งขันยิวยิตสูกันอย่างแพร่หลายในมหกรรมกีฬาต่าง ๆ ทั่วโลก

ความแตกต่างระหว่าง ยิวยิตสู กับ ยูโด

ยิวยิตสู เป็นกีฬาแนวศิลปะป้องกันตัวที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง อาศัยวิธีการต่อสู้แบบผสมผสานมีจุดเด่นด้านความรวดเร็วและรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นทุ่มตัว โจมตีตามข้อ หักแขนหักขาให้เสียหลัก จับล็อกหรือนอนรัดให้คู่ต่อสู้ขยับไม่ได้ หลายคนอาจเคยเห็นมาบ้างและเกิดสับสนว่ายิวยิตสูกับยูโดแตกต่างกันตรงไหน

ความแตกต่างระหว่าง ยิวยิตสู กับ ยูโด

ยิวยิตสู เป็น ศิลปะป้องกันตัว ที่ผสมผสานท่าต่อสู้ทุกรูปแบบตั้งแต่หมัด เท้า เข่า ศอก ทุ่ม ทับ จับล็อก หักแขนหักขา โจมตีตามข้อ รัดคอ เรียกว่ารวมศิลปะการต่อสู้ทุกแขนงเพื่อฝึกท่าอันตรายที่ใช้สังหารคู่ต่อสู้โดยตรงซึ่งยากในการต่อกรด้วย ใช้งานได้ทั้งยืนและนอน แต่เน้นท่านอนมากกว่า ยิวยิตสูในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีอันตรายน้อยลง ไม่เน้นกระบวนท่าสุดโหด ผู้แข่งขันจะแลกหมัดและแข้งใส่อีกฝ่าย อาศัยการจับคอเสื้อหรือแขนเสื้อเพื่อให้คู่ต่อสู้เสียหลักก่อนจับทุ่มลงกับพื้น ปล้ำกันในท่านอนเป็นหลัก และจับล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้

ยูโด เป็นกีฬา จริง ๆ แล้วก็พัฒนามาจากยิวยิตสู เพียงแต่ตัดท่าอันตรายออกไป เช่น ท่าฟันคอ หักแขนหักขา และท่าสังหารต่าง ๆ ถูกคัดออกหมด เน้นท่าทุ่มเป็นหลัก อาศัยวิธีการจับคอเสื้อหรือแขนเสื้อทุ่มแทน เมื่ออีกฝ่ายหงายหลังลงพื้น กรรมการจะนับคะแนนและให้สัญญาณสองฝ่ายแยกออกจากกัน ไม่มีความรุนแรงหรืออันตราย เพื่อให้กลายเป็นกีฬาแข่งขันที่ปลอดภัยมากขึ้น นับว่ายูโดมีความเป็นมวยยืนชัดเจนและมีท่านอนเป็นส่วนประกอบ

สรุปก็คือ ยิวยิตสูเป็นศิลปะการป้องกันตัวที่ค่อนข้างโหดร้ายรุนแรงจึงไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก ในปัจจุบันได้ปรับให้มีความรุนแรงลดลง ทั้งยังพัฒนาต่อมาเป็นยูโดที่เน้นการทุ่มเป็นหลัก มีกดล็อก หักแขน รัดคอ เหมือนกัน แต่ความโหดลดลงไปพอสมควร ทำให้ได้รับความนิยมกว้างขวาง

ประโยชน์ของยิวยิตสูต่อสุขภาพ

ประโยชน์ของยิวยิตสูต่อสุขภาพ

กีฬาการต่อสู้แบบยิวยิตสูมีประโยชน์ต่อสุขภาพแน่นอน ส่วนจะมีข้อดีอะไรบ้างนั้นมาติดตามกันเลย

  • ได้ออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมในเวลาว่างที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะการฝึกฝนร่างกายและส่งเสริมพัฒนาการเด็กและวัยรุ่นที่มักจะมีปัญหาติดเกมมือถือในปัจจุบัน สร้างนิสัยชอบออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวทางร่างกาย ฝึกกีฬายิวยิตสูบ่อย ๆ ช่วยให้สมองและกล้ามเนื้อจดจำการเคลื่อนไหวโดยอัตโนมัติ ทำให้ควบคุมร่างกายตัวเองได้ดี แขนขาเคลื่อนไหวอย่างแม่นยำ ร่างกายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
  • ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวให้คล่องตัว การมีส่วนร่วมในศิลปะการต่อสู้เป็นการกระตุ้นทั้งร่างกายและสติปัญญาในการควบคุมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวให้คล่องตัว ยืดหยุ่น และรวดเร็ว ทั้งยังมีความอดทนในการฝึกทักษะการต่อสู้และป้องกันตัวติดตัวไว้

การฝึกยิวยิตสูเป็นการฝึกสมาธิไปในตัว เพราะท่าต่อสู้ที่มีอันตรายและอาจทำร้ายคู่ต่อสู้ด้วย จึงต้องมีความตั้งใจและความทุ่มเท เมื่อเริ่มฝึกแรก ๆ คู่ซ่อมจะขัดขืนตลอดเวลา จับล็อกไม่ได้ ต้องทำใจยอมรับความพ่ายแพ้และเรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อพัฒนาตัวเองให้มีทักษะที่ดีขึ้น เกิดการพัฒนาความคิด อารมณ์ และมีทัศนะคิดที่ดีซึ่งมีต่อการใช้ชีวิตในอนาคต

ข้อควรระวังในการฝึกยิวยิตสู

แวดวงศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวยอมรับว่า ยิวยิตสูเป็นการต่อสู้มือเปล่าที่มีท่าทางค่อนข้างอันตราย การเน้นในเรื่องการล็อก หักข้อ กด ทุ่มและรัดคอ เรียกได้ว่ารุนแรงและโหดกว่ายูโด หากเพลี่ยงพล้ำอาจทำให้เจ็บตัวหรือรุนแรง จึงมีข้อควรระวังให้ฝึกซ้อมและแข่งขันกันอย่างปลอดภัย

ข้อควรระวังในการฝึกยิวยิตสู

ช่วงเวลาฝึกซ้อมและแข่งขันควรใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ฟันยาง ถุงมือฝึก สนับซัพพอร์ตเข่า หมวกกันน็อก เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ พร้อมอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น แผ่นยางปูพื้น เสื่อปูพื้น หรือ แผ่นยางกันกระแทก

1. แจ้งคู่ฝึกซ้อมรู้ล่วงหน้าว่ามีอาการบาดเจ็บที่ไหน และจะทำท่าไหน เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บเพื่อให้คู่ฝึกซ้อมช่วยระวังเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บซ้ำที่เดิม

2. เมื่อคู่ซ้อมเจ็บควรส่งสัญญาณยอมแพ้ อีกฝ่ายรีบปล่อยทันที ดีกว่าต้องบาดเจ็บหนัก

3. เวลาซ้อมปล้ำต่อสู้ ควรเว้นระยะห่างจากคู่ซ้อมคู่อื่น จะได้หยุดและหลบหลีกได้ทัน

4. ฝึกนิสัยสุภาพอ่อนน้อม มีมารยาท ควบคุมความแรง และไม่ควรใช้อารมณ์ระหว่างฝึกซ้อม

5. ฝึกตามท่าที่ตกลงกันไว้ งดเว้นท่าอันตรายที่อาจทำให้คู่ฝึกซ้อมบาดเจ็บ เช่น ดึงผม จิ้มตา เตะหว่างขา

สรุป

ในปัจจุบัน ยิวยิตสู ลดความรุนแรงลงมาจนกลายเป็นกีฬาเหมือนอย่างยูโด แต่ก็ใช้อาวุธหมัด ศอก เข่า เท้า ที่มีอันตรายมาก ผู้ฝึกจึงต้องมีสติ สมาธิ และความรอบคอบ แข่งขันด้วยใจนักกีฬาเพื่อให้มีความปลอดภัย นอกจากยิวยิตสูจะมีจุดเด่นด้านความรวดเร็วและรุนแรงแล้ว ยังแปลงการโจมตีของคู่ต่อสู้มาเป็นแรงส่งโต้กลับได้ จึงเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เหมาะกับคนตัวเล็ก เด็กและผู้หญิงได้ฝึกจะเกิดประโยชน์มากมายแน่นอน

อยากเรียนศิลปะป้องกันตัวยิวยิตสูเรียนที่ไหน

คลาสเรียนยิวยิตสูในกรุงเทพฯ เดินทางสะดวกแถมใกล้ทางด่วน จะไม่ถูกถึง Realgym ก็คงไม่ได้ เพราะสอนโดยนักกีฬาโอลิมปิกเหรียญทองของไทย มีประสบการณ์สอนมากกว่า 10 ปี โค้ชมีประสบการณ์ปั้นนักกีฬาเหรียญทองทั้งรุ่นเยาวชน, ผู้ใหญ่ และที่สำคัญพื้นที่ในการฝึกสอนก็กว้างขวางแอร์เย็นสบาย พื้นสั่งทำพิเศษรองรับการกระแทกได้เป็นอย่างดี การฝึกสอนของโค้ชมีการสอบเลื่อนสายและยังพาไปเเข่งขันรายการต่างๆ ในประเทศอีกด้วย หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 083-975-5547

อยากเรียนศิลปะป้องกันตัวยิวยิตสูเรียนที่ไหน

แหล่งที่มา

  • www.taifudo.com
  • www.onefc.com
  • marshomme.com
  • th.theasianparent.com