30 เมนูอาหารคลีน! พร้อมสูตรทำเอง ง่าย อร่อย ได้สุขภาพ - 2025
ปัจจุบันผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น อาหารคลีนจึงกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับคนที่ต้องการมีสุขภาพดีแบบยั่งยืน แม้หลายคนอาจคิดว่าอาหารคลีนต้องจืดชืด น่าเบื่อ แต่ความจริงแล้วเมนูอาหารคลีนมีความหลากหลายและอร่อยไม่แพ้อาหารทั่วไป ด้วยวัตถุดิบที่หาได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ก็สามารถสร้างสรรค์เมนูคลีนได้หลากหลาย สามารถทำได้ทั้งอาหารไทย อาหารฝรั่ง หรือแม้แต่ของหวานแบบคลีนๆ
การทำอาหารคลีนเองที่บ้านไม่เพียงช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ยังควบคุมคุณภาพและความสะอาดได้ตามใจชอบ วันนี้เราได้รวบรวม 30 เมนูที่ทำง่าย พร้อมสูตรและขั้นตอนการทำแบบละเอียด ที่จะทำให้คุณพบว่าการทำอาหารคลีนไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอย่างที่คิด มาเริ่มต้นดูแลสุขภาพด้วยเมนูอาหารคลีนกันเลยดีกว่า!
สารบัญเนื้อหา
ทำไมต้องกินอาหารคลีน?
อาหารคลีนคืออะไร?
อาหารคลีน (Clean Food) คือรูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นความเป็นธรรมชาติ สด สะอาด และผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด หัวใจสำคัญของการรับประทานอาหารคลีนคือการได้รับสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เริ่มจาก
- โปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วชนิดต่างๆ
- คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจากข้าวกล้องและธัญพืชไม่ขัดสี
- ไขมันดีจากน้ำมันมะกอก อะโวคาโด และถั่ว
การทำอาหารคลีนจะเน้นวิธีการที่เรียบง่าย เช่น การนึ่ง ต้ม อบ หลีกเลี่ยงการทอดหรือผัดที่ต้องใช้น้ำมันมาก งดการปรุงรสจัด และลดการใช้เครื่องปรุงสำเร็จรูป นอกจากนี้ วัตถุดิบที่ใช้ควรเป็นผักผลไม้ตามฤดูกาล ไม่ผ่านการฉีดสารเคมี หรือดัดแปลงพันธุกรรม
ทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร อาหารคลีนนั้นช่วยลดการได้รับสารเคมีและสารปนเปื้อนจากกระบวนการแปรรูป ส่งผลดีต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหาร การกินอาหารคลีนช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เหมาะสม ส่งผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันและการทำงานของเซลล์ในร่างกาย
ประโยชน์ของอาหารคลีน
1.อาหารคลีนช่วยดูแลสุขภาพแบบองค์รวม นักโภชนาการพบว่าการทำอาหารคลีนเองที่บ้านช่วยควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะปราศจากไขมันทรานส์และน้ำตาลเกิน การกินคลีนอย่างต่อเนื่องช่วยลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดัน และไขมันในเลือดสูง
2.เมนูอาหารคลีนมักใช้วัตถุดิบอาหารคลีนที่สด สะอาด ผ่านการแปรรูปน้อย เน้นผักคลีนและผลไม้คลีนตามฤดูกาล ทำให้ได้รับวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารครบถ้วน ช่วยระบบขับถ่ายทำงานดี
3.อาหารคลีนเพื่อสุขภาพยังช่วยล้างสารพิษ เสริมภูมิคุ้มกัน ทำให้ผิวพรรณสดใส มีพลังงานเพิ่มขึ้น และนอนหลับสบายขึ้น นอกจากนี้อาหารคลีนลดน้ำหนักยังเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับผู้ต้องการควบคุมน้ำหนักอย่างยั่งยืน
4.อาหารคลีนยังส่งผลดีต่อสมอง ช่วยเพิ่มความจำและสมาธิ เพราะการได้รับสารอาหารครบถ้วนจากเมนูอาหารคลีนทำเองช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ทั้งโอเมก้า 3 วิตามินบี และแร่ธาตุสำคัญ
5.ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการพบว่า การกินคลีนช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย ชะลอวัย และป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด เพราะวัตถุดิบอาหารคลีนอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
6.อาหารคลีนง่ายๆยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะวิธีทำอาหารคลีนเน้นวัตถุดิบตามฤดูกาล ราคาไม่แพง แถมยังช่วยลดขยะจากบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ทำให้ดีต่อทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
7.สายคลีนหลายคนยืนยันว่าการรับประทานอาหารคลีนเพื่อสุขภาพช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ลดความเครียด และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
อาหารคลีนเหมาะกับใคร?
1.คนรักสุขภาพและสายคลีน
อาหารคลีนเหมาะกับกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การรับประทานอาหารคลีนจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เพราะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ชะลอวัย และป้องกันโรคเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าตลอดวัน ที่สำคัญการได้รับวิตามินและแร่ธาตุจากผักคลีนและผลไม้คลีนอย่างครบถ้วน ยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและสุขภาพดีในระยะยาว
2.ผู้ต้องการลดน้ำหนัก
การรับประทานอาหารคลีนลดน้ำหนักเป็นทางเลือกที่ดี เพราะว่าอาหารคลีนสามารถควบคุมแคลอรี่ได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องอดอาหารหรือทรมานตัวเอง จึงไม่เกิดผลกระทบแบบโยโย่ (yoyo effect) ทำให้การลดน้ำหนักนั้นเป็นไปอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานดีขึ้น ลดการสะสมไขมัน และที่สำคัญคือสามารถทำเมนูอาหารคลีนได้หลากหลายรูปแบบ ไม่จำเจ ไม่น่าเบื่อ ทำให้การควบคุมน้ำหนักเป็นเรื่องที่สนุกมากขึ้นครับ
3.คนทำงานยุคใหม่
สำหรับคนทำงานยุคใหม่ การทำอาหารคลีนทำเองเป็นทางเลือกที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและควบคุมความสะอาดได้ดีกว่าการซื้ออาหารคลีนกิน อีกทั้งยังสามารถวางแผนและเตรียมอาหารล่วงหน้าเป็นมื้อๆ (Meal Prep) เพื่อการบริหารเวลาที่ดีขึ้นตามที่เราะสะดวก และด้วยวิธีทำอาหารคลีนที่เรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาน้อย จึงเหมาะกับคนที่มีชีวิตเร่งรีบแต่ยังต้องการใส่ใจสุขภาพ ทำให้การดูแลตัวเองเป็นเรื่องที่จัดการได้แม้ในวันที่งานหนักก็ตาม
4.ผู้มีโรคประจำตัว
อาหารคลีนเหมาะสำหรับผู้มีโรคประจำตัว การรับประทานอาหารคลีนมีความจำเป็น เพราะช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ความดัน และไขมันในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดการอักเสบในร่างกาย การเลือกใช้วัตถุดิบอาหารคลีนที่ปลอดสารเคมี ยิ่งเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว และที่สำคัญคือช่วยฟื้นฟูสุขภาพ เสริมการรักษา ส่งผลให้อาการของโรคประจำตัวต่างๆให้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น
5.มือใหม่หัดทำอาหาร
สำหรับมือใหม่ที่สนใจเริ่มต้นทำอาหารคลีน สามารถเริ่มจากเมนูคลีนง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อน ใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดใกล้บ้าน เทคนิคการปรุงอาหารคลีนเน้นวิธีพื้นฐาน ไม่ยุ่งยาก มีสูตรอาหารคลีนทำเองมากมายให้เลือกฝึกฝน
6.แม่บ้านและผู้ดูแลครอบครัว
การวางแผนเมนูอาหารคลีนเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก ช่วยประหยัดงบประมาณค่าอาหารในระยะยาว ที่สำคัญคือช่วยสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีให้กับทุกคนในครอบครัว เป็นการวางรากฐานการดูแลสุขภาพของคนที่ครอบครัวให้แข็งแรงและมีการกินที่ดีไปด้วยกัน
เทคนิคการเริ่มต้นกินอาหารคลีนแบบมือใหม่
วางแผนการทำอาหารคลีนใน 7 วัน
1.ขั้นตอนแรก การเตรียมวัตถุดิบเมนูอาหารคลีน
เริ่มจากการซื้อของสดที่จำเป็น โดยผู้เขียนจะแบ่งตามสารอาหาร
- โปรตีน เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อกไก่ ปลา เต้าหู้ กุ้ง ไข่
- คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ข้าวกล้อง ควินัว ข้าวโอ๊ต มันเทศ ข้าวโพด เผือก
- ไขมันดี น้ำมันมะกอก น้ำมันอะโวคาโด อัลมอนด์ วอลนัท เมล็ดเจีย
- ผักสด ผักสลัด คะน้า ผักโขม บร็อคโคลี กะหล่ำปลี มะเขือเทศเชอร์รี่ มะเขือเทศราชินี
อย่าลืม! คำนวณปริมาณให้พอดีสำหรับ 2-3 วัน เพื่อรักษาความสด และไม่ต้องไปซื้อซ้ำบ่อยๆครับ
2.ขั้นตอนที่สอง การจัดการวัตถุดิบ
เมื่อซื้อของแล้วกลับถึงบ้าน ให้เริ่มจากล้างผักให้สะอาด แยกใส่กล่องเก็บในตู้เย็น ส่วนเนื้อสัตว์แบ่งเป็นมื้อๆ แช่แข็งไว้ หุงข้าวกล้องเก็บไว้กินได้ 2-3 วัน เป็นการเตรียมรอบเดียว อิ่มไปได้หลายมื้อเลยครับ
3.ขั้นตอนที่สาม การวางแผนมื้ออาหาร
จัดตารางอาหารแต่ละมื้อให้ชัดเจน เช่น มื้อเช้าอาจเป็นโจ๊กข้าวกล้อง กลางวันทานสลัด เย็นทานข้าวกล้องกับกับข้าวคลีนๆจากตัวอย่างในบทความนี้ เตรียมของว่างเพื่อกันหิว เช่น ผลไม้ ถั่ว
Tips! วันพุธและวันอาทิตย์ ให้เติมวัตถุดิบใหม่ ทำให้มีของสดตลอดสัปดาห์ หากวันไหนมีเวลา ลองทำอาหารเก็บไว้ 2-3 มื้อ จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก
การจัดเก็บอาหารคลีนให้สดใหม่ ใช้ได้ทั้งวัตถุดิบ, Meal Prep
การเก็บวัตถุดิบให้เริ่มจากการแยกเนื้อสัตว์เป็นมื้อๆ แล้วนำไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ -18°C
สำหรับผักสดต้องล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง แล้วเก็บในถุงซิปที่อุณหภูมิ 4°C
ส่วนผลไม้ ควรแยกระหว่างสุกกับดิบ เก็บในช่องธรรมดา ส่วนธัญพืชเก็บในกล่องปิดสนิทในที่แห้งและเย็น
สำหรับอาหารที่ทำแบบ Meal Prep ควรแบ่งใส่กล่องแช่เย็นได้ 2-3 วัน แยกข้าวหรือเส้นกับกับข้าว ซอสหรือน้ำจิ้มควรแยกใส่กล่องเล็ก ผักสดควรแพ็คแยกและใส่ตอนจะทาน
ระยะเวลาการเก็บอาหารคลีน แต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน
• อาหารปรุงสุกเก็บได้ 2-3 วันในตู้เย็น
• ผักสดที่หั่นพร้อมทานเก็บได้ 3-4 วัน
• เนื้อสัตว์แช่แข็งอยู่ได้ 1-2 เดือน
• ส่วนน้ำสลัดหรือซอสเก็บได้ 5-7 วัน
เคล็ดลับสำคัญคือ ต้องอุ่นอาหารให้ร้อนทั่วถึง และควรทานให้หมดภายใน 2 ชั่วโมงหลังนำออกจากตู้เย็น หากพบว่าอาหารมีกลิ่นผิดปกติควรทิ้งทันที
วิธีเลือกเมนูอาหารคลีนให้เหมาะสมกับแต่ละคน
1.กินคลีนเพื่อลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนักด้วยอาหารคลีนเน้นโปรตีนสูง คาร์บต่ำ และเพิ่มปริมาณผักให้อิ่มนาน หลักการคือควบคุมแคลอรี่ที่ 1,200-1,500 ต่อวัน ทานมื้อเล็กแต่บ่อยขึ้น
เมนูแนะนำ
- มื้อเช้า สลัดไข่ต้ม ผักรวม หรือโยเกิร์ตกับผลไม้
- มื้อกลางวัน สลัดอกไก่ย่าง อโวคาโด หรือปลานึ่งมะนาวกับผักนึ่ง
- มื้อเย็น ต้มจืดเต้าหู้ หรือซุปไก่ฉีกผักรวม
- ของว่าง ผลไม้รวม แอปเปิ้ล ส้ม หรือถั่วไม่เกิน 1 กำมือ
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- แป้งขัดขาว น้ำตาล น้ำอัดลม
- อาหารทอด ของมัน
- ซอสหวาน น้ำจิ้มที่มีน้ำตาลสูง
2.กินคลีนเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ
การสร้างกล้ามเนื้อต้องการโปรตีน 2-2.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโล ทานคาร์บคุณภาพดี และไขมันที่เหมาะสม แคลอรี่รวม 2,000-3,000 ต่อวัน
เมนูแนะนำ
- มื้อเช้า โอ๊ตมิลก์เวย์โปรตีน กล้วย ถั่ว
- หลังออกกำลังกาย เวย์โปรตีน + กล้วย
- มื้อกลางวัน ข้าวกล้อง อกไก่ย่าง ไข่ต้ม ผักรวม
- มื้อเย็น สเต๊กปลา มันฝรั่งอบ บร็อคโคลี่
- ก่อนนอน นมไขมันต่ำ + อัลมอนด์
อาหารเสริมพลังงาน
- ถั่วต่างๆ อัลมอนด์ วอลนัท
- อโวคาโด น้ำมันมะกอก
- ธัญพืชไม่ขัดสี ควินัว
3.เมนูอาหารคลีนสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานสูง
เหมาะสำหรับนักกีฬา คนออกกำลังหนัก หรือผู้ที่ต้องใช้พลังงานมาก เน้นอาหารที่ให้พลังงานสูงแต่ดีต่อสุขภาพ แคลอรี่ 2,500-3,500 ต่อวัน
เมนูแนะนำ
- มื้อเช้า ข้าวกล้องไก่อบ ไข่ 2 ฟอง ผลไม้รวม
- มื้อว่าง โอ๊ตมิลก์ผลไม้ เพิ่มน้ำผึ้ง ถั่วรวม
- มื้อกลางวัน สปาเก็ตตี้โฮลวีทปลาแซลมอน
- มื้อเย็น ข้าวกล้อง เต้าหู้ผัดผักรวม ไข่ต้ม
30 เมนูอาหารคลีนแบบครบทุกมื้อ มีทุกเนื้อสัตว์
เมนูอาหารคลีน เนื้อหมู (5 เมนู)
1. หมูอบสมุนไพร
-
ส่วนประกอบ
-
- หมูสันใน 100 กรัม
- กระเทียม 2 กลีบ (สับ)
- พริกไทยดำ 1 ช้อนชา
- โรสแมรี 1 ก้าน
- เกลือเล็กน้อย
-
แคลอรี่: ~150-170 Kcal
-
โปรตีน: ~25 กรัม
-
วิธีทำ
-
- ทำความสะอาดหมูสันในและซับน้ำให้แห้ง
- หมักหมูด้วยกระเทียมสับ พริกไทย เกลือ และโรสแมรี 15 นาที
- วางหมูในถาดอบ ตั้งเตาอบที่ 180°C นาน 20 นาที หรือจนสุกดี
- นำออกมาพักให้เนื้อเซ็ตตัวก่อนหั่นเสิร์ฟ
2. หมูต้มยำ
-
ส่วนประกอบ
- หมูสันใน 100 กรัม (หั่นชิ้น)
- ข่า 3 ชิ้น
- ตะไคร้ 2 ต้น (ทุบพอแตก)
- ใบมะกรูด 2 ใบ
- เห็ดฟาง 50 กรัม
- พริกขี้หนู 5 เม็ด
- น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
-
แคลอรี่: ~120-140 Kcal
-
โปรตีน: ~22 กรัม
-
วิธีทำ
- ต้มน้ำ 300 มล. ให้เดือด ใส่ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด
- ใส่หมูลงไปต้ม 3-4 นาทีจนสุก
- ใส่เห็ดฟางและพริกขี้หนู คนให้เข้ากัน
- ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว เสิร์ฟร้อน
3. หมูผัดกระเทียมพริกไทย
-
ส่วนประกอบ
- หมูสันใน 100 กรัม (หั่นชิ้น)
- กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
- พริกไทยขาวป่น 1 ช้อนชา
- น้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา
-
แคลอรี่: ~130-150 Kcal
-
โปรตีน: ~23 กรัม
-
วิธีทำ
- ตั้งกระทะบนไฟกลาง ใส่น้ำมันมะกอก
- ผัดกระเทียมจนหอม ใส่หมูลงไปผัดจนสุก
- โรยพริกไทยขาว คลุกเคล้าให้เข้ากัน
- เสิร์ฟพร้อมข้าวกล้อง
4. หมูต้มผักรวม
-
ส่วนประกอบ
- หมูบดไร้มัน 80 กรัม
- บรอกโคลี 50 กรัม
- แครอท 50 กรัม
- น้ำเปล่า 300 มล.
-
แคลอรี่: ~110-130 Kcal
-
โปรตีน: ~20 กรัม
-
วิธีทำ
- ตั้งน้ำให้เดือด ใส่หมูบดลงไปต้ม
- ใส่บรอกโคลีและแครอท คนให้เข้ากัน
- ต้มจนผักนุ่ม เสิร์ฟร้อน
5. หมูสเต๊กพริกไทยดำ
-
ส่วนประกอบ
- หมูสันนอก 100 กรัม
- พริกไทยดำบด 1 ช้อนชา
- เกลือเล็กน้อย
-
แคลอรี่: ~150-180 Kcal
-
โปรตีน: ~24 กรัม
-
วิธีทำ
- หมักหมูกับเกลือและพริกไทยดำ 20 นาที
- ตั้งกระทะเทฟลอนด้วยไฟกลาง ย่างหมูจนสุกทั้งสองด้าน
- หั่นเป็นชิ้น เสิร์ฟพร้อมผักสลัด
เมนูอาหารคลีน เนื้อไก่ (5 เมนู)
6. อกไก่นึ่งสมุนไพร
-
ส่วนประกอบ
- อกไก่ 120 กรัม
- ใบโรสแมรี 1 ก้าน
- กระเทียม 2 กลีบ
-
แคลอรี่: ~110-130 Kcal
-
โปรตีน: ~28 กรัม
-
วิธีทำ
- หมักไก่กับกระเทียมและโรสแมรี 15 นาที
- วางไก่ในหม้อนึ่ง นึ่งด้วยไฟกลางประมาณ 15 นาที
- เสิร์ฟพร้อมผักลวก
7. ไก่ผัดกระเพรา
-
ส่วนประกอบ
- อกไก่หั่นชิ้น 100 กรัม
- ใบกระเพรา 20 กรัม
- กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา
-
แคลอรี่: ~130-150 Kcal
-
โปรตีน: ~25 กรัม
-
วิธีทำ
- ตั้งกระทะด้วยน้ำมันมะกอก ผัดกระเทียมจนหอม
- ใส่ไก่ลงไปผัดจนสุก
- ใส่ใบกระเพรา ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว
8. ไก่ย่างพริกแกง
-
ส่วนประกอบ
- อกไก่ 100 กรัม
- พริกแกงแดง 1 ช้อนโต๊ะ
-
แคลอรี่: ~130-150 Kcal
-
โปรตีน: ~25 กรัม
-
วิธีทำ
- หมักไก่กับพริกแกงแดง 20 นาที
- ย่างบนกระทะหรือเตาอบจนสุก
9. ต้มข่าไก่
-
ส่วนประกอบ
- อกไก่ 100 กรัม
- กะทิธัญพืช 100 มล.
- ข่า, ตะไคร้, ใบมะกรูด
-
แคลอรี่: ~140-160 Kcal
-
โปรตีน: ~25 กรัม
-
วิธีทำ
- ต้มน้ำ ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด
- ใส่ไก่และกะทิธัญพืช ต้มจนสุก
10. สลัดไก่คลีน
-
ส่วนประกอบ
- อกไก่ 100 กรัม
- ผักสลัด 50 กรัม
- น้ำสลัดไขมันต่ำ 1 ช้อนโต๊ะ
-
แคลอรี่: ~120-140 Kcal
-
โปรตีน: ~24 กรัม
-
วิธีทำ
- ต้มไก่จนสุก หั่นเป็นชิ้น
- คลุกเคล้ากับผักสลัดและน้ำสลัด
เมนูอาหารคลีน เนื้อวัว (5 เมนู)
11. เนื้อย่างสมุนไพร
-
ส่วนประกอบ
- เนื้อวัวสันใน 100 กรัม
- โรสแมรี 1 ก้าน
- พริกไทยดำ 1 ช้อนชา
- เกลือเล็กน้อย
-
แคลอรี่: ~150-170 Kcal
-
โปรตีน: ~28 กรัม
-
วิธีทำ
- หมักเนื้อวัวด้วยโรสแมรี พริกไทย และเกลือประมาณ 20 นาที
- ตั้งกระทะให้ร้อน ย่างเนื้อด้วยไฟกลางจนสุกทั้งสองด้าน (ประมาณ 4 นาทีต่อด้านสำหรับ Medium)
- หั่นเป็นชิ้นเสิร์ฟ พร้อมสลัดผักสด
12. สเต๊กเนื้อพริกไทยดำ
-
ส่วนประกอบ
- เนื้อวัวสันนอก 120 กรัม
- พริกไทยดำบด 1 ช้อนชา
- เกลือเล็กน้อย
-
แคลอรี่: ~170-190 Kcal
-
โปรตีน: ~30 กรัม
-
วิธีทำ
- หมักเนื้อด้วยพริกไทยและเกลือประมาณ 15 นาที
- ย่างในกระทะเทฟลอนด้วยไฟกลางประมาณ 3-4 นาทีต่อด้านจนสุกตามความต้องการ
- เสิร์ฟพร้อมข้าวกล้องและผักลวก
13. แกงจืดเนื้อบด
-
ส่วนประกอบ
- เนื้อวัวบด 80 กรัม
- เต้าหู้ขาว 50 กรัม
- ผักกาดขาว 50 กรัม
-
แคลอรี่: ~120-140 Kcal
-
โปรตีน: ~22 กรัม
-
วิธีทำ
- ต้มน้ำให้เดือด ใส่เนื้อวัวบดลงต้มจนสุก
- ใส่เต้าหู้และผักกาดขาว ต้มต่อจนผักนุ่ม
- ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวเล็กน้อย
14. เนื้อบดผัดกระเพรา
-
ส่วนประกอบ
- เนื้อวัวบด 100 กรัม
- ใบกระเพรา 20 กรัม
- กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
- พริกขี้หนูบด 1 ช้อนชา
- น้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา
-
แคลอรี่: ~140-160 Kcal
-
โปรตีน: ~24 กรัม
-
วิธีทำ
- ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันมะกอก ผัดกระเทียมจนหอม
- ใส่เนื้อบดและพริกขี้หนูลงไปผัดจนสุก
- ใส่ใบกระเพรา ผัดให้เข้ากันและเสิร์ฟ
15. ซุปเนื้อ
-
ส่วนประกอบ
- เนื้อวัวสไลซ์ 100 กรัม
- หอมใหญ่ 30 กรัม
- แครอท 30 กรัม
- มันฝรั่ง 50 กรัม
-
แคลอรี่: ~150-170 Kcal
-
โปรตีน: ~25 กรัม
-
วิธีทำ
- ตั้งน้ำ 400 มล. ให้เดือด ใส่เนื้อวัวสไลซ์ลงไปต้ม
- ใส่หอมใหญ่ แครอท และมันฝรั่ง ต้มจนผักนุ่ม
- ปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อยและพริกไทย
เมนูอาหารคลีน เนื้อปลา (5 เมนู)
16. ปลาทับทิมนึ่งมะนาว
-
ส่วนประกอบ
- ปลาทับทิม 120 กรัม
- พริกขี้หนู 5 เม็ด
- กระเทียม 2 กลีบ
- น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา
-
แคลอรี่: ~120-140 Kcal
-
โปรตีน: ~22 กรัม
-
วิธีทำ
- ล้างปลาทับทิมให้สะอาดและซับน้ำให้แห้ง
- วางพริกขี้หนู กระเทียม และซีอิ๊วขาวบนตัวปลา
- นึ่งในหม้อนึ่งที่เดือดแล้ว 10-12 นาที
- เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มซีฟู้ด
17. ปลาแซลมอนย่างเกลือ
-
ส่วนประกอบ
- ปลาแซลมอน 100 กรัม
- เกลือเล็กน้อย
-
แคลอรี่: ~180-200 Kcal
-
โปรตีน: ~25 กรัม
-
วิธีทำ
- โรยเกลือบาง ๆ บนปลาแซลมอน
- ตั้งกระทะเทฟลอนให้ร้อน ย่างปลาแซลมอนประมาณ 3-4 นาทีต่อด้านจนสุก
- เสิร์ฟพร้อมผักลวก
18. แกงป่าปลาทับทิม
-
ส่วนประกอบ
- ปลาทับทิม 100 กรัม
- มะเขือเปราะ 50 กรัม
- พริกแกงป่า 1 ช้อนโต๊ะ
- ใบมะกรูด 2 ใบ
-
แคลอรี่: ~140-160 Kcal
-
โปรตีน: ~22 กรัม
-
วิธีทำ
- ผัดพริกแกงป่ากับน้ำมันมะกอกเล็กน้อย ใส่น้ำเปล่า 300 มล. ต้มให้เดือด
- ใส่มะเขือเปราะและใบมะกรูด
- ใส่ปลาทับทิม ต้มจนปลาสุก
19. ปลานึ่งซีอิ๊ว
-
ส่วนประกอบ
- ปลากะพง 120 กรัม
- ขิงซอย 1 ช้อนโต๊ะ
- ต้นหอม 1 ต้น
- ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา
-
แคลอรี่: ~130-150 Kcal
-
โปรตีน: ~24 กรัม
-
วิธีทำ
- ล้างปลากะพงให้สะอาดและบั้งเนื้อ
- วางขิงซอยและต้นหอมบนตัวปลา
- ราดซีอิ๊วขาวแล้วนำไปนึ่ง 10-12 นาที
20. ปลาย่างสมุนไพร
-
ส่วนประกอบ
- ปลาทับทิม 100 กรัม
- ใบมะกรูด 5 ใบ
- ตะไคร้ 2 ต้น
-
แคลอรี่: ~110-130 Kcal
-
โปรตีน: ~21 กรัม
-
วิธีทำ
- ทำความสะอาดปลา ยัดใบมะกรูดและตะไคร้ในท้องปลา
- ย่างปลาในเตาอบหรือกระทะจนสุก
เมนูอาหารคลีน เนื้อกุ้ง (5 เมนู)
21. กุ้งอบเกลือ
-
ส่วนประกอบ
- กุ้งสด 100 กรัม
- เกลือเล็กน้อย
-
แคลอรี่: ~90-110 Kcal
-
โปรตีน: ~20 กรัม
-
วิธีทำ
- ล้างกุ้งให้สะอาดและเด็ดหัวออก (ตามความชอบ)
- โรยเกลือบาง ๆ บนตัวกุ้ง
- อบกุ้งในกระทะเทฟลอนปิดฝา ใช้ไฟกลาง 5-7 นาทีจนเนื้อสุก
- เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มซีฟู้ดหรือข้าวกล้อง
22. ต้มยำกุ้งน้ำใส
-
ส่วนประกอบ
- กุ้งสด 100 กรัม
- ข่า 3 ชิ้น
- ตะไคร้ 2 ต้น (ทุบพอแตก)
- ใบมะกรูด 2 ใบ
- น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
- พริกขี้หนู 5 เม็ด
-
แคลอรี่: ~100-120 Kcal
-
โปรตีน: ~21 กรัม
-
วิธีทำ
- ตั้งน้ำ 300 มล. ให้เดือด ใส่ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด
- ใส่กุ้งสดลงไปต้มประมาณ 3-4 นาทีจนสุก
- ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว พริกขี้หนู และซีอิ๊วขาว
- เสิร์ฟร้อนพร้อมข้าวกล้อง
23. ยำกุ้งลวก
-
ส่วนประกอบ
- กุ้งลวก 100 กรัม
- หอมแดงซอย 10 กรัม
- น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
- พริกขี้หนูสับ 5 เม็ด
- ขึ้นฉ่ายหั่น 10 กรัม
-
แคลอรี่: ~90-110 Kcal
-
โปรตีน: ~18 กรัม
-
วิธีทำ
- ลวกกุ้งในน้ำเดือดประมาณ 2 นาทีจนเนื้อสุก
- ผสมพริก น้ำมะนาว ซีอิ๊วขาว และน้ำตาลมะพร้าวเล็กน้อยในชามผสม
- ใส่กุ้งลวก หอมแดง และขึ้นฉ่าย คลุกเคล้าให้เข้ากัน
- เสิร์ฟทันที
24. กุ้งผัดบล็อกโคลี
-
ส่วนประกอบ
- กุ้งสด 100 กรัม
- บล็อกโคลี 50 กรัม
- กระเทียมสับ 1 ช้อนชา
- น้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา
-
แคลอรี่: ~130-150 Kcal
-
โปรตีน: ~22 กรัม
-
วิธีทำ
- ตั้งกระทะด้วยไฟกลาง ใส่น้ำมันมะกอกและผัดกระเทียมให้หอม
- ใส่กุ้งลงไปผัดจนเกือบสุก
- ใส่บล็อกโคลีลงไป เติมน้ำเล็กน้อยเพื่อช่วยให้บล็อกโคลีนุ่ม
- ผัดจนทุกอย่างสุกดี เสิร์ฟพร้อมข้าวกล้อง
25. กุ้งอบวุ้นเส้น
-
ส่วนประกอบ
- กุ้งสด 80 กรัม
- วุ้นเส้นแช่น้ำ 50 กรัม
- กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
- พริกไทยดำบด 1 ช้อนชา
- ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา
-
แคลอรี่: ~130-150 Kcal
-
โปรตีน: ~20 กรัม
-
วิธีทำ
- แช่วุ้นเส้นในน้ำจนพอนุ่ม
- คลุกวุ้นเส้นกับกระเทียม พริกไทย และซีอิ๊วขาว
- ใส่วุ้นเส้นและกุ้งลงในหม้ออบ ปิดฝา อบด้วยไฟกลางประมาณ 10 นาที
- เสิร์ฟร้อนพร้อมผักสด
เมนูอาหารคลีน เนื้อปลาหมึก (5 เมนู)
26. ปลาหมึกย่างสมุนไพร
-
ส่วนประกอบ
-
ปลาหมึกสด 120 กรัม
-
ใบมะกรูด 5 ใบ
-
เกลือเล็กน้อย
-
แคลอรี่: ~100-120 Kcal
-
โปรตีน: ~18 กรัม
-
วิธีทำ
-
ล้างปลาหมึก ลอกเยื่อออก และบั้งเนื้อเป็นแนวเฉียง
-
โรยเกลือเล็กน้อยบนตัวปลาหมึก
-
ย่างปลาหมึกบนเตาถ่านหรือกระทะเทฟลอนจนสุก (ประมาณ 5 นาที)
-
เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มซีฟู้ด
27. ยำปลาหมึก
-
ส่วนประกอบ
- ปลาหมึกลวก 100 กรัม
- หอมแดงซอย 10 กรัม
- น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
- พริกขี้หนูสับ 5 เม็ด
- ขึ้นฉ่ายหั่น 10 กรัม
-
แคลอรี่: ~100-120 Kcal
-
โปรตีน: ~19 กรัม
-
วิธีทำ
- ลวกปลาหมึกในน้ำเดือดประมาณ 2 นาทีจนสุก
- ผสมพริก น้ำมะนาว ซีอิ๊วขาว และน้ำตาลมะพร้าวเล็กน้อยในชาม
- ใส่ปลาหมึกลวก หอมแดง และขึ้นฉ่าย คลุกเคล้าให้เข้ากัน
- เสิร์ฟทันที
28. ปลาหมึกผัดกระเทียม
-
ส่วนประกอบ
- ปลาหมึกสด 120 กรัม
- กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
- พริกไทยขาว 1 ช้อนชา
- น้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา
-
แคลอรี่: ~120-140 Kcal
-
โปรตีน: ~19 กรัม
-
วิธีทำ
- ตั้งกระทะด้วยไฟกลาง ใส่น้ำมันมะกอกและผัดกระเทียมจนหอม
- ใส่ปลาหมึกลงไปผัดจนสุก
- ปรุงรสด้วยพริกไทยขาวและซีอิ๊วขาว
- เสิร์ฟพร้อมข้าวกล้อง
29. แกงเขียวหวานปลาหมึก
-
ส่วนประกอบ
- ปลาหมึกสด 100 กรัม
- พริกแกงเขียวหวาน 1 ช้อนโต๊ะ
- กะทิธัญพืช 100 มล.
- มะเขือเปราะ 50 กรัม
- ใบโหระพา 10 กรัม
-
แคลอรี่: ~140-160 Kcal
-
โปรตีน: ~20 กรัม
-
วิธีทำ
- ผัดพริกแกงเขียวหวานกับกะทิธัญพืชในกระทะจนหอม
- ใส่มะเขือเปราะและปลาหมึกลงไป ต้มต่อประมาณ 3 นาที
- ใส่ใบโหระพา คนให้เข้ากันแล้วตักเสิร์ฟ
30. ปลาหมึกต้มยำ
-
ส่วนประกอบ
- ปลาหมึกสด 120 กรัม
- ข่า 3 ชิ้น
- ตะไคร้ 2 ต้น
- ใบมะกรูด 2 ใบ
- น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
- พริกขี้หนู 5 เม็ด
-
แคลอรี่: ~110-130 Kcal
-
โปรตีน: ~18 กรัม
-
วิธีทำ
- ตั้งน้ำให้เดือด ใส่ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด
- ใส่ปลาหมึกลงไปต้มประมาณ 3 นาทีจนสุก
- ปรุงรสด้วยน้ำมะนาวและพริกขี้หนูตำ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาหารคลีน
1.กินคลีนคืออะไร เริ่มต้นอย่างไร?
อาหารคลีนคือการรับประทานอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด เน้นวัตถุดิบธรรมชาติ 100% เริ่มต้นได้ง่ายๆ โดยเลือกวัตถุดิบสด สะอาด เน้นวิธีการปรุงแบบนึ่ง ต้ม อบ ลดหวาน มัน เค็ม และหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
2.เมนูอาหารคลีนลดน้ำหนักมีอะไรบ้าง?
เมนูอาหารคลีนที่เหมาะกับการลดน้ำหนัก เน้นโปรตีนสูง คาร์บต่ำ เช่น สลัดอกไก่ย่าง ปลานึ่งมะนาว ไข่ตุ๋นผักรวม ต้มจืดเต้าหู้ ควบคุมแคลอรี่ 1,200-1,500 ต่อวัน
3.วิธีทำอาหารคลีนให้อร่อย ไม่น่าเบื่อ?
วิธีทำอาหารคลีนให้น่าทานคือการใช้เครื่องเทศสมุนไพรธรรมชาติ เช่น พริกไทย กระเทียม ขิง ตะไคร้ ใบมะกรูด จัดจานให้สวยงาม และสร้างสรรค์เมนูหลากหลาย
4.อาหารคลีนทำเองประหยัดกว่าซื้อแค่ไหน?
การทำอาหารคลีนทำเองประหยัดกว่าซื้อ 40-50% เพราะสามารถซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก เตรียมอาหารครั้งละหลายมื้อ และควบคุมปริมาณได้
5.งบ 200 บาท ทำอาหารคลีนอะไรได้บ้าง?
เมนูอาหารคลีนแบบประหยัด เช่น ข้าวกล้องไข่ต้ม ผัดผักรวมเต้าหู้ ต้มจืดหมูสับ สามารถทำได้ 2-3 มื้อ โดยเลือกวัตถุดิบตามฤดูกาล
6.กินอาหารคลีนแล้วหิวบ่อย ทำอย่างไร?
แก้ปัญหาหิวบ่อยระหว่างกินคลีนด้วยการเพิ่มโปรตีนและไฟเบอร์ แบ่งมื้อเล็กทานบ่อยขึ้น เตรียมของว่างคลีนๆ เช่น ผลไม้ ถั่ว โยเกิร์ต
7.วัตถุดิบอาหารคลีนซื้อที่ไหน ราคาเท่าไร?
วัตถุดิบอาหารคลีนหาซื้อได้ตามตลาดสด ซูเปอร์มาร์เก็ต ราคาเริ่มต้นประมาณ 500-1,000 บาทต่อสัปดาห์ ควรเลือกผักผลไม้ตามฤดูกาล เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และธัญพืชไม่ขัดสี
บทสรุป
อาหารคลีนเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการดูแลสุขภาพ แต่จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเมื่อควบคู่กับการออกกำลังกายที่เหมาะสม การเลือกเมนูอาหารคลีนให้เข้ากับรูปแบบการออกกำลังกายของคุณจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูร่างกายและสร้างกล้ามเนื้อ
หากคุณเพิ่งเริ่มต้นทำอาหารคลีน ไม่ต้องกังวลว่าจะยาก เริ่มจากเมนูง่ายๆ ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และเพิ่มกิจกรรมทางกายทีละน้อย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง หรือโยคะ การรับประทานอาหารคลีนเพื่อสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
บทความนี้เขียนโดย...
โค้ชปูแน่น (ปู จักรินทร์ บุญลาภ)
เป็น CEO และที่ปรึกษาด้านการพัฒนาทีมเทรนเนอร์ในฟิตเนสของตัวเองที่ Real Gym ซาฟารีเวิลด์ รวมถึงแบรนด์อาหารเสริม และที่ปรึกษาด้าน Training Quality ให้กับทีมเทรนเนอร์ของ Sport club และฟิตเนสชั้นนำ
โปรไฟล์โค้ชปูแน่น
บทความทั้งหมด
Powered by Mirasvit Magento 2 Extensions
- เพิ่มไขมันดี (HDL) เพื่อสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง เทคนิคและ 20 อาหารที่แนะนำ
- คาร์โบไฮเดรต พลังงานสำคัญสำหรับนักออกกำลังกาย และนักกล้าม
- 15 ประโยชน์ของการวิ่ง ลงทุนสุขภาพง่ายๆ ด้วยการวิ่ง
- อาหารหลังออกกำลังกาย ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เสริมพลัง สร้างผลลัพธ์ที่ดี
- เคล็ดลับออกกำลังกายช่วงมีประจำเดือน - ฟิต หุ่นสวย คลายปวด ด้วยวิธีง่ายๆ